วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทรัพยากรธรรมชาติ

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม




มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

           มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นใน อดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหา ดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ

·         ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
·         ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันใด


ที่มา http://tummachatsingwadlom.igetweb.com




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=_NPRufomGMY

วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

สังคมศึกษา

                                      คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ส33101                        รายวิชาสังคมศึกษา 5              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
เวลา  40  ชั่วโมง/ภาคเรียน       จำนวน  1.0  หน่วยกิต                        ภาคเรียนที่  1

          .............................................................................................................................................................


 ศึกษา  วิเคราะห์  สังเคราะห์  หน่วยโลกศึกษาในเรื่องคุณภาพสิ่งแวดล้อม  วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการกลุ่ม  การฝึกคิดรวบยอด  โดยนำเหตุการณ์ปัจจุบันในสังคมโลก  สภาพปัญหาชีวิต  สภาพแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้  เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  ตระหนักและเห็นคุณค่า  และรักการเรียนรู้  มีจิตสำนึก  คุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคมและสามารถนำความรู้ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้  การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม
ศึกษา  อธิบาย  วิเคราะห์  ความสำคัญของการสังคายนาพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือและการเผยแผ่  การเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการโดยใช้วิธีคิดแบบอริยสัจ  ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ  ความสำคัญของค่านิยมและจริยธรรม  และหลักธรรมในพระพุทธศาสนา  คริสต์ศาสนา  ศาสนาอิสลาม  โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด กระบวนการกลุ่ม  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ศึกษา  อธิบาย  วิเคราะห์  ระบุองค์กรที่มีบทบาทในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย  โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์  กระบวนการกลุ่ม  การฝึกคิดรวบยอด  การสืบค้นทางเทคโนโลยีสมัยใหม่  เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  และทันโลกทันเหตุการณ์ในสมัยสังคมปัจจุบัน  พร้อมทั้งมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคมและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

รหัสตัวชี้วัด 
1.1   ม.6/15  ม.6/17  ม.6/18  ม.6/19  6/21       
5.2   ม.6/1    ม.6/2    ม.6/5

รวม  8  ตัวชี้วัด